อินเดียมีชื่อประเทศอย่างเป็นทางการว่าสาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India) เป็นประเทศที่เก่าแก่และมีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 5,000 ปี นอกจากนั้นยังเป็นถิ่นกำเนิดของศาสนาหลายศาสนา โดยศาสนาฮินดูเป็นศาสนาที่มีอิทธิพลต่อชาวอินเดียมากที่สุด
อินเดียมีประชาการมากกว่า 1000 ล้านคน และ มีเมืองหลวงชื่อ นิวเดลี มีภาษาอังกฤษและภาษาฮินดี เป็นภาษาที่ใช้กันทั่วไป
ภาษา
ภาษาฮินดีเป็นภาษาราชการ โดยมีภาษาอังกฤษเป็นภาษารอง อีกทั้งรัฐธรรมนูญอินเดียยังรับรองภาษาท้องถิ่น อีก 16 ภาษาที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง
สกุลเงิน
รูปี (อัตราขึ้นลงแล้วแต่วัน แต่ถ้าอยากคิดง่ายๆ 1 รูปี จะเท่ากับ 1 บาท )
ภูมิประเทศ
ด้านทิศเหนือ - จรดเทือกเขาหิมาลัย จีน เนปาล และภูฏาน
ด้านทิศตะวันออก – อ่าวเบงกอล บังกลาเทศ และ พม่า
ด้านทิศตะวันตก – ติดทะเลอาหรับ กับปากีสถาน
ด้านทิศใต้ – ติดมหาสมุทรอินเดีย
ด้านทิศเหนือ - จรดเทือกเขาหิมาลัย จีน เนปาล และภูฏาน
ด้านทิศตะวันออก – อ่าวเบงกอล บังกลาเทศ และ พม่า
ด้านทิศตะวันตก – ติดทะเลอาหรับ กับปากีสถาน
ด้านทิศใต้ – ติดมหาสมุทรอินเดีย
ภูมิอากาศ
อินเดียมี 3 ฤดูได้แก่
ฤดูร้อน ระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายนของทุกปี อุณหภูมิสูเฉลี่ยประมาณ 30 - 35 องศาเซลเซียส
ฤดูฝน ระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายนของทุกปี อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 28 องศาเซลเซียส
ฤดูหนาว ระหว่างเดือนตุลาคม-มีนาคมของทุกปี อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 10-17 องศาเซลเซียส โดยอุณหภูมิอาจลดลงต่ำสุดถึง - 3 องศาเซลเซียส ในบางเมือง
การเมืองและการปกครอง
อินเดียมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ อยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี อินเดียแบ่งการปกครองประเทศออกเป็น 28 รัฐ กับ 7 เขตการปกครอง เมืองใหญ่ที่สุด 3 เมืองของอินเดีย คือ กรุงนิวเดลี มุมไบ และกัลกัตตา
เวลา
เวลาในประเทศอินเดียช้ากว่าในประเทศไทย 1.30 ชั่วโมง
ศาสนา
อินเดียไม่มีศาสนาประจำชาติ แต่ชาวอินเดียส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู ซึ่งมีจำนวนถึง 82.41% นับถือศาสนาอิสลาม 11.67% นอกนั้นนับถือศาสนาอื่นๆโดยผู้ที่นับถือศาสนาพุทธมีอยู่ประมาณ 0.77%
อินเดียมี 3 ฤดูได้แก่
ฤดูร้อน ระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายนของทุกปี อุณหภูมิสูเฉลี่ยประมาณ 30 - 35 องศาเซลเซียส
ฤดูฝน ระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายนของทุกปี อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 28 องศาเซลเซียส
ฤดูหนาว ระหว่างเดือนตุลาคม-มีนาคมของทุกปี อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 10-17 องศาเซลเซียส โดยอุณหภูมิอาจลดลงต่ำสุดถึง - 3 องศาเซลเซียส ในบางเมือง
การเมืองและการปกครอง
อินเดียมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ อยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี อินเดียแบ่งการปกครองประเทศออกเป็น 28 รัฐ กับ 7 เขตการปกครอง เมืองใหญ่ที่สุด 3 เมืองของอินเดีย คือ กรุงนิวเดลี มุมไบ และกัลกัตตา
เวลา
เวลาในประเทศอินเดียช้ากว่าในประเทศไทย 1.30 ชั่วโมง
ศาสนา
อินเดียไม่มีศาสนาประจำชาติ แต่ชาวอินเดียส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู ซึ่งมีจำนวนถึง 82.41% นับถือศาสนาอิสลาม 11.67% นอกนั้นนับถือศาสนาอื่นๆโดยผู้ที่นับถือศาสนาพุทธมีอยู่ประมาณ 0.77%
อาหารการกิน
อาหารอินเดียส่วนใหญ่จะใช้เครื่องเทศเป็นหลัก คนอินเดียส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดูซึ่งนับถือว่าวัวเป็นสัตว์ของเทพเจ้า ดังนั้นเนื้อวัวจึงเป็นอาหารต้องห้ามของชาวฮินดู ส่วนเนื้อหมูนั้นเป็นอาหารต้องห้ามของชาวมุสลิม ซึ่งมีอยู่มากในอินเดีย อาหารที่ประกอบด้วยเนื้อหมูหรือเนื้อวัวจึงหาทานได้ยาก ดังนั้นอาหารส่วนใหญ่ที่อยู่ในเมนูของร้านอาหารในอินเดีย จึงเป็น ไก่กับเนื้อแพะ (Mutton) อาหารจานเด่นของอินเดียมีหลายอย่าง อาทิ ไก่ทานโดริ (Tandoori Chicken) เป็นไก่ที่หมักในเครื่องปรุงแล้วย่างหรืออบในเตาดิน กับแกงถั่ว (Dal) หรือ ข้าวหมก (Biryani) มีทั้งข้าวหมกแพะและข้าวหมกไก่ Kebab
อาหารอินเดียส่วนใหญ่จะใช้เครื่องเทศเป็นหลัก คนอินเดียส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดูซึ่งนับถือว่าวัวเป็นสัตว์ของเทพเจ้า ดังนั้นเนื้อวัวจึงเป็นอาหารต้องห้ามของชาวฮินดู ส่วนเนื้อหมูนั้นเป็นอาหารต้องห้ามของชาวมุสลิม ซึ่งมีอยู่มากในอินเดีย อาหารที่ประกอบด้วยเนื้อหมูหรือเนื้อวัวจึงหาทานได้ยาก ดังนั้นอาหารส่วนใหญ่ที่อยู่ในเมนูของร้านอาหารในอินเดีย จึงเป็น ไก่กับเนื้อแพะ (Mutton) อาหารจานเด่นของอินเดียมีหลายอย่าง อาทิ ไก่ทานโดริ (Tandoori Chicken) เป็นไก่ที่หมักในเครื่องปรุงแล้วย่างหรืออบในเตาดิน กับแกงถั่ว (Dal) หรือ ข้าวหมก (Biryani) มีทั้งข้าวหมกแพะและข้าวหมกไก่ Kebab
ชาวอินเดียจะกินขนมปังชนิดต่างๆ กับแกง เช่น โรตี (Roti) หรือ จาปาตี (Chapati) แป้งแผ่นทอดหรือจี่จนสุก และ นาน(Nan) แป้งแผ่นหนากว่าจาปาตี ปิ้งไฟในเตาทานโดริจนแป้งข้างนอกพองกรอบ กับแกงต่างๆ นอกจากนั้นยังมีอาหารที่เป็นเหมือนเครื่องดื่ม คือ นมเปรี้ยว (Yoghurt) ซึ่งในอินเดียเรียกว่า ลัสซี่ (Lassi) มีทั้งรสธรรมชาติและชนิดปรุงรสด้วยเกลือ
น้ำ
น้ำดื่มในอินเดียนั้นจะเป็นน้ำกรองด้วยระบบที่ทันสมัยและสะอาด 100% แต่รสชาติของน้ำแต่ละประเทศจะไม่เหมือนกันดังนั้นรสชาติน้ำจะแตกต่างจากประเทศไทยบ้าง
การคมนาคม
ทางอากาศ
ทางรถไฟ มีเส้นทางเดินรถไกล 62,000 กิโลเมตร มีสถานีรถไฟทั้งหมดจำนวน 7,000 สถานี
ทางรถยนต์ กฏจราจรของอินเดียเป็นลักษณะ ไปซ้ายมาขวาเหมือนเมืองไทย แต่อินเดียมีประชากรที่ยากจนจำนวนมาก
รสบัสซึ่งเป็นพาหนะเพียงอย่างเดียวที่คนอินเดียส่วนใหญ่ใช้กัน จึงค่อนข้างแออัดยัดเยียดและไม่สะดวกสำหรับนักท่องเที่ยว
รถเช่า บริการรถเช่าในอินเดียจะให้เช่าพร้อมคนขับด้วย เพราะการขับรถในอินเดียไม่ง่ายนักนอกจากจะต้องรู้จักถนนหนทางแล้วยังต้องคอย ระวังคนและสัตว์ที่มักออกมาเพ่นพ่านเกะกะอยู่บนถนนอย่างถูกต้องเสียด้วย และเราจะได้ยินเสียงบีบแตรตลอดเวลาจนเหมือนจะเป็นวัฒนธรรมการขับรถในประเทศ
ที่พัก-โรงแรม
โรงแรมที่พักในอินเดียมีหลายระดับให้เลือกตามความต้องการของนักท่องเที่ยว
การสื่อสาร
ไปรษณีย์
สำนักงานไปรษณีย์อินเดียเปิดทำการตั้งแต่ 9.30-17.30 น. เนื่องจากมีคนใช้บริการที่ไปรษณีย์จำนวนมากและช้ามาก
จึงควรเผื่อเวลาไว้
โทรศัพท์
การใช้โทรศัพท์ระหว่างประเทศสะดวกได้มาตราฐานสากล โทรศัพท์มือถือที่นำไปจากประเทศไทยใช้ได้ดียกเว้นบางพื้นที่ที่ห่างไกล
การใช้โทรศัพท์ระหว่างประเทศสะดวกได้มาตราฐานสากล โทรศัพท์มือถือที่นำไปจากประเทศไทยใช้ได้ดียกเว้นบางพื้นที่ที่ห่างไกล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น