หลังจากชมความยิ่งใหญ่ของ Amber Fort แล้วเราก็มาต่อกันที่ City Palace
ทางเข้า City Palace |
ทวารบาลประจำประตู |
มาถึงอินเดียแล้วจริงๆ (ถ่ายรูปแบบนี้ต้องจ่ายตังค์นะคับ ไปถ่ายเขาฟรีๆไม่ได้) |
City Palace เป็นพระราชวังที่มีพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่ถึง 1 ใน 7 ของเมือง โดยพระราชวังนั้นถูกสร้างขึ้นในช่วงระหว่างปีค.ศ.1729 ถึง 1732 เป็น ศิลปะผสมผสานระหว่างราชสถานและโมกุล ภายในมีลานกว้าง สวนและอาคารมากมาย ตรงกลางเป็นหอจันทราฮาล สูงเจ็ดชั้น ปัจจุบันจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ของมหาราชาไสว แมนสิงห์ที่ 2 แสดงภาพเขียน อาวุธยุทโธปกรณ์และเครื่องแต่งกายในราชสำนัก
ทางเข้าเขตพระราชฐาน |
ท้องพระโรงที่แปลงเป็นพิพิธภัณฑ์ |
บริเวณท้องพระโรงทำเป็นพิพิธภณฑ์แสดงอาวุธโบราณ |
ชัยปุระนั้นมีมหาราชาปกครองมาอย่างยาวนานถึง 500 ปี แม้หลังจากได้รับเอกราช บทบาทของมหาราชาจะเหลือไว้สำหรับงานราชพิธีเท่านั้น แต่มหาราชาส่วนใหญ่ในอินเดียของยังได้รับการนับถือจากประชาชน เนื่องจากเชื่อกันว่าเหล่ามหาราชาคือผู้ที่สืบทอดเชื้อสายมาจากพระรามซึ่งเป็นอวตารของพระวิษณุนั่นเอง
ปัจจุบันพระราชวังนี้ก็ยังมีมหาราชาประทับอยู่เหมือนเช่นที่เป็นมาเมื่อ 500 ปีที่แล้ว ดังนั้นพื้นที่ของพระราชวังจึงเปิดให้ชมเป็นบางส่วนเท่านั้น
มหาราชาองค์ปัจจุบันยังประทับอยู่ที่ตึกสีครีมด้านหลัง |
จุดน่าสนใจในบริเวณท้องพระโรง นอกจากจะมีอาวุธต่างๆ ราชรถ และข้าวของเครื่องใช้จัดแสดงอยู่แล้ว ยังมีโอ่งน้ำที่ทำด้วยเงินแท้ๆ ใบใหญ่ที่สุดในโลกวางอยู่ด้วย
โอ่งเงินขนาดใหญ่(มากๆ) นี้มี 2 ใบ โดยเป็นโอ่งที่มหาราชามาโนชสิงห์สั่งให้ทำขึ้นเพื่อใช้บรรจุน้ำจากแม่น้ำคงคา สำหรับให้พระองค์ใช้ดื่ม และอาบในระหว่างการเดินทางไปประเทศอังกฤษโดยทางเรือ
จากบริเวณส่วนหน้าก็จะมีประตูเพื่อเข้าไปชมเขตพระราชฐานชั้นใน ซึ่งไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่ประตู 4 ฤดู ซึ่งแต่ละประตูจะมีการตกแต่งแตกต่างกันเพื่อเป็นตัวแทนของฤดูต่างๆ ได้แก่ ฤดูฝน ฤดูร้อน ฤดูหนาว และ ฤดูใบไม้ผลิโอ่งเงินขนาดใหญ่(มากๆ) นี้มี 2 ใบ โดยเป็นโอ่งที่มหาราชามาโนชสิงห์สั่งให้ทำขึ้นเพื่อใช้บรรจุน้ำจากแม่น้ำคงคา สำหรับให้พระองค์ใช้ดื่ม และอาบในระหว่างการเดินทางไปประเทศอังกฤษโดยทางเรือ
โอ่งเงินแท้ๆ ใหญ่ที่สุดในโลก |
ตึกด้านในทำหน้าที่เป็นกำแพงกั้นเขตพระราชฐานชั้นนอกกับชั้นในด้วย |
ทางเข้าอลังการมาก |
Summer |
Autumn |
Spring |
หอดูดาว จันตาร์มันตาร์ (Jantar Mantar) เป็นสถานที่ทางด้านดาราศาสตร์ที่สร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 14 โดย มหาราชา Jai Sing ที่ 2 โดยในอดีตเคยใช้เป็นหอดูดาวที่ใหญ่ที่สุดและแม่นยำที่สุดในอินเดีย
มหาราชา Jai Sing ผู้สร้าง Jantar Mantar ถือเป็นผู้นำแห่งวิทยาการด้านดาราศาสตร์ในอินเดีย ทรงศึกษาและสร้างเครื่องมือวัดตำแหน่งดวงอาทิตย์และดวงดาวหลายชิ้น บางชิ้นใช้คำนวณช่วงฤดูร้อนของปีที่จะมาถึง บางชินคำนวณอากาศและเม็ดฝน
หอดูดาว |
ส่วนหนึ่งของนาฬิกาแดดขนาดใหญ่ |
แม้ Jantar Mantar จะถูกสร้างด้วยแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ แต่ก็มีแนวคิดแบบเทวนิยมแฝงอยู่ด้วย เพราะเมืองชัยปุระถูกออกแบบให้เป็นเสมือนเมืองแห่งเทพเจ้า ตามแผนภูมิของจักรวาลโดยมีพระราชวังชัยปุระอันงดงามเป็นแกนกลางแห่งจักรวาล และมีสวนดาราศาสตร์ Jantra Mantra ไว้อ่านการเคลื่อนไหวของพระอาทิตย์ ดาวเคราะห์ และดวงดาวต่างๆ เสมือนเป็นแผนที่แห่งสวรรค์ สำหรับมหาราชานั่นเอง
นาฬิกาแดดมุมด้านข้างขนาดมาตรฐาน โปรดสังเกตุนาฬิกาแดดเวอร์ชั่นไซส์ใหญ่ที่อยู่ด้านหลังไกลๆ |
นาฬิกาแดดด้านหน้า วัดเวลาตามเงาที่ตกลงบนส่วนโค้ง |
เสร็จจาก City Palace และ หอดูดาว จันตาร์มันตาร์แล้ว เราก็ได้มีโอกาสทานอาหารค่ำมื้อพิเศษแบบ Exclusive ในพระราชวังเก่าที่ถูกดัดแปลงเป็นโรงแรมที่ชื่อว่า ราชพาเลซ
ทางเข้าราชพาเลซ |
ราชพาเลซ (Raj Palace) เป็นพระราชวังเก่าแก่ของราชวงศ์มหาราชาในชัยปุระ เป็นที่ประทับของเหล่าราชวงศ์เรื่อยมาจนกระทั่งปี 1995 เจ้าหญิง Jayendra Kumari Ji ได้ตัดสินพระทัยบูรณะพระราชวังแห่งนี้เป็นโรงแรมสุดหรู
ตึกด้านหน้า |
โรงแรมราชพาเลซ เป็นโรงแรมในกลุ่ม Small Luxury Hotels of the World โดยได้รับรางวัล The world's best heritage hotel มาถึง 5 ปี ติดต่อกัน (2007 - 2011)
และเนื่องจากอีกไม่กี่วัน โรงแรมแห่งนี้จะถูกใช้เป็นสถานที่จัดงานใหญ่ของประเทศทำให้โรงแรมปิดให้บริการเพื่อทำการตกแต่งโรงแรมใหม่ทั้งหมด แต่กลุ่มเราได้รับสิทธิพิเศษเข้ามาใช้สถานที่ของโรงแรมในการทานมื้อค่ำและชมการแสดงศิลปะวัฒนธรรมของอินเดียให้ชมแบบ Exclusive ซึ่งในมุมหนึ่งก็เป็นสิทธิพิเศษที่น่าประทับใจ แต่อีกมุมในโรงแรมใหญ่โต โบราณๆ แต่มีคนแค่ 20 กว่าคน มันก็โหวงเหวงพิลึกเหมือนกัน
ใครสนใจอยากเข้าไปพักที่โรงแรมนี้ก็ลองเข้าไปหาข้อมูลได้คับที่ http://www.rajpalace.com/hotel-raj-palace.html
รับรองว่าหรูหราระดับมหาราชาแน่นอน ด้วยราคาเข้าพักแบบเหนาะๆ ที่คืนละ 10,000 - 450,000 บาท !!!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น